วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ทุนระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม



Universiti Brunei Darussalam Doctoral Scholarships Programme 2009/2010

Universiti Brunei Darussalam (UBD) is once again offering its prestigious Doctoral Scholarships Programme (UBD DSP) to enhance UBD’s ability to attract academically outstanding international PhD scholars, as part of its efforts to make the university a regional and international centre of excellence in research and higher education.

The UBD Doctoral Scholarships Programme is designed to attract world class doctoral students who are able to show a very high standard of scholarly achievement in graduate studies in the natural sciences, health sciences, social sciences, business and economics, Malay/Brunei studies, language skills and communication, and education, by offering students financial assistance during their doctoral studies.

The UBD Doctoral Scholarships Programme is part of UBD’s ongoing international recruitment strategy and aims to position UBD as a regional and international leader in leading edge higher education research.
Terms and conditions
The UBD Doctoral Scholarships Programme is open to all international candidates, regardless of nationality, applying for admission to a full time PhD programme at Universiti Brunei Darussalarn (UBD) at any time in 2009 or 2010.
The scholarships do not carry a bond.
Each scholarship covers tuition fees (and bench fees where applicable), one outward and return economy travel fare to Brunei Darussalam, research expenses up to a maximum of Brunei Dollars $8,000, a yearly book allowance of Brunei Dollars $300, on-campus accommodation in the university’s Residential Halls, plus a monthly personal allowance of Brunei Dollars $500.
Each scholarship is tenable for the minimum period of candidature for the respective PhD programme at Universiti Brunei Darussalam (UBD).
The scholarship does not include any other costs not specified in Condition 3 (above) and it does not guarantee employment or residence in Brunei Darussalam to the scholar upon graduation.
The scholar may not take up paid employment outside the Universityor serve on the staff of their country’s Diplomatic Mission in Brunei Darussalam during the award. However, the scholar may apply for paid employment within the University such as that of Research Assistant or Part Time Tutor/Lecturer only with agreement from the student’s supervisor and if such posts are available in the University.
The scholar may be required to assist his/her respective Faculty in undergraduate teaching, or other work assigned by the Department Head, for up to 6 hours per week. This Teaching Assistantship is a condition of the scholarship and the scholar will not receive any payfor the teaching assistance provided.
For the academic year 2009/2010, the UBD PhD Scholarships are open for the following PhD programmes:

Faculty of Arts & Social Sciences PhD in Geography, History, Malay
Language & Linguistics, Malay Literature,
Sociology/ Anthropology,
English Applied Linguistics
Faculty of Science PhD in all areas, particularly Petroleum
Geoscience, Biology, Chemistry, Maths,
Physics, Computer Science, Robotics,
Mechatronic, Material Science, Alternative/
Renewable Energy, Agro-technology
and Food Security
Sultan Hassanal Bolkiah Institute of Education PhD in Education (all areas)
Faculty of Business, Economics & Policy Studies PhD in Economics, Public Policy/Social Policy,
and Business Administration
Academy of Brunei Studies PhD in Brunei Studies and ASEAN Studies
Institute of Medicine PhD in all areas, particularly Medicine,
Bio-medical Science, Nursing, and Midwifery
Language Centre PhD in Language and/or Communication,
and Foreign Language Studies
Kuala Belalong Field Studies Centre PhD in all areas

The scholarship covers the entire duration of the PhD programme (3 years) provided that every year the scholar demonstrates satisfactory progress as determined by the University.
If the scholarship is terminated prematurely by the scholar himself, then the scholar shall be responsible for his travel expenses back to his home country.
Scholarships are awarded on the basis of competition among eligible candidates. Candidates should be academically outstanding, interested and able to pursue higher education research of relevance to UBD, and able to demonstrate an appreciation of South East Asian culture, particularly of Brunei Darussalam’s Malay Islamic culture.
The minimum admission requirements for the scholarship is an Upper Second Class undergraduate degree and a competent or distinction achievement at the Masters degree. Both stated awards should be obtained at an institution recognized by UBD.
All applicants must complete the prescribed application forms (available on the UBD website: www.ubd.edu.bn).
Confirmation of the scholarship shall be subject to the visa and health requirements of the Government of Brunei Darussalam (details attached herewith).
The scholarship may not be held concurrently with any other study award without the prior approval of UBD.
UBD reserves the right not to award any scholarships if there are no candidates of sufficient merit. The decision of Universiti Brunei Darussalam on selection of any candidate is final. Enquiries or disputes regarding its decisions will not be entertained.

For more information about the UBD Doctoral Scholarships Programme,
please contact

The International and Public Relations Office
Universiti Brunei Darussalam

Telephone / Fax: +673-2463062 / 2463015
or
email: rosnah.ramly@ubd.edu.bn

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

สถานทูตออสเตรเลียให้ทุนนักศึกษาชายแดนใต้

สถานทูตออสเตรเลียประชาสัมพันธ์โครงการทุนการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย สำหรับปี 2010

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2552

ทางสถานทูตใคร่ขอสนับสนุนผู้ที่ีมีภูมิลำเนาหรือทำงานเกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สมัครทุนดังกล่าว โดยทางสถานทูตจะให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการสมัครเท่าที่จะสามารถทำได้

หากท่านใดที่มีคุณสมบัติข้างต้นมีความประสงค์ที่จะสมัคร กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสถานทูตออสเตรเลียทราบตามรายละเอียดที่ระบุด้านล่าง

กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในไฟล์ที่แนบมานี้
อนึ่ง ผู้สมัครจะต้องมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนในระดับดีถึงเกณฑ์ที่กำหนดได้แก่

- ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำ เพื่อผ่านการพิจารณารับตรงให้เข้าเรียนในคอร์สที่ท่านสนใจ
และ

- ต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งประเำืภทต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนี้
* IELTS Academic Test คะแนนรวมอย่างน้อย 6.5 และไม่มีคะแนนในกลุ่มใดต่ำกว่า 6
* TOEFL สำหรับข้อสอบแบบกระดาษ อย่างน้อย 580 คะแนน
* TOEFL สำหรับข้อสอบแบบคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 237 คะแนน
* TOEFL สำหรับข้อสอบแบบอินเตอร์เนต อย่างน้อย 92 คะแนน
กรุณาส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้แก่ผู้ที่ท่านคาดว่าน่าจะสนใจในโครงการ จักเป็นพระุคุณยิ่ง
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูได้ที่: http://www.ausaid.gov.au/scholar/ala.cfm

ทุนการศึกษาของรัฐบาลออสเตรเลียประจำปีการศึกษา 2010
รัฐบาลออสเตรเลียมีความยินดีในการประกาศมอบทุนการศึกษาให้แก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ดังนี้
• ทุนการศึกษา Australian Leadership Awards (ALA)
ทุนการศึกษา ALA เป็นทุนเพื่อการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในประเทศออสเตรเลีย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ สร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน และสร้างความเชื่อมโยงภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ผู้สมัครจากประเทศไทยที่ปฏิบัติหน้าที่หลักในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือเป็นผู้มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ในสามจังหวัดนี้ จะได้รับการพิจารณาในลำดับต้น ๆ
ผู้สนใจสามารถสมัครขอรับทุนสำหรับปีการศึกษา 2010 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2552 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ausaid.gov.au/scholar/
• ทุนการศึกษา Endeavour Awards
ทุนการศึกษานี้เป็นทุนของรัฐบาลออสเตรเลียที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ และมีการคัดเลือกผู้รับทุนโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ โดยเปิดโอกาสให้ชาวไทยไปศึกษา วิจัย และพัฒนาความสามารถทางวิชาชีพ ณ ประเทศออสเตรเลีย ทุนการศึกษานี้ยังเปิดโอกาสให้ชาวออสเตรเลียเดินทางไปศึกษาและวิจัยยังต่างประเทศด้วยเช่นกัน
ผู้สนใจสามารถสมัครขอรับทุนสำหรับปีการศึกษา 2010 ได้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน จนถึง 31 กรกฎาคม 2552 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.endeavour.deewr.gov.au

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นางสาวศรีสุดา ไชยวิจารณ์ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาพหุวัฒนธรรมปาตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในชุดมลายู ภาพถ่ายหลังจากกลับจากการลงภาคสนามที่จังหวัดนราธิวาส เป็นนักวิจัยที่มีมนุษย์สัมพันธ์กับชุมชน

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บรูไนให้ทุนฟรีตรี-โทถึง26ก.พ.

รัฐบาลบรูไน ดารุสซาลาม มีความประสงค์จะให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทย ไม่เกิน 2 คน เพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โท หรือประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2009-2010 ณ มหาวิทยาลัยในประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
ทุนการศึกษาดังกล่าวครอบคลุมค่าลงทะเบียนหน่วยกิต ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป/กลับ ชั้นประหยัด ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าทันตกรรมในโรงพยาบาลของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายประจำเดือน และค่าตำราเรียน ทั้งนี้รายละเอียดทุนการศึกษา หลักสูตร คุณสมบัติของผู้สมัคร สามารถขอรับ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สถานเอกอัครราชทูตบรูไน ประจำประเทศไทย
เลขที่ 132 สุขุมวิท23
คลองเตย วัฒนา
กทม.10110
โทร.02-2041476-9

โดยหมดเขตในการสมัคร คือ ภายใน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

บรรยากาศการลงภาคสนามกับ สกว. ในรัฐเคดะห์ รัฐเปรัค รัฐตรังกานู และรัฐกลันตัน

รับประทานอาหารที่ร้านเจ๊ะการ์ หาดใหญ่ ก่อนเดินทางเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ทางตม. ด่านนอกอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา


สภาพบนรถในระหว่างการเดินทางรัฐเคดะห์ รัฐเปรัค รัฐตรังกานู และรัฐกลันตัน

ภาพจำลองวิถีชีวิตชาวนาในรัฐเคดะห์ ข้าวคือสิ่งใกล้ตัวที่รัฐเคดะห์สร้างให้เป็น Product ของการท่องเที่ยวรัฐเขา เพียง..........ค่าผ่านประตูจะแพงไปหน่อย

คุณปัทมากร คติธรรมนิตย์ และคุณพรทิพย์ ลิ้มประสิทธิวงศ์ นั่งอยู่ในบรรยากาศเหมือนจริงที่พิพิธภัณฑ์ข้าว

คณะร่วมเดินทางจาก สกว. ขณะอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ข้าวของรัฐเคดะห์

คุณปัทมากร คติธรรมนิตย์และคุณรพีพร สิทธิ ถ่ายภาพบริเวณพิพิธภัณฑ์ข้าว รัฐเคดะห์

มัสยิดบ้านกำปงลาวต์ ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณชุมชนนิลัมปูรี รัฐกลันตัน

โบราณสถาน Lembah Bujang รัฐเคดะห์

ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง ผอ. สกว., รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และไกด์จำเป็นบริเวณโบราณสถาน Lembah Bujang รัฐเคดะห์

แวะซื้อผลไม้ริมทาง ที่รัฐเปรัค

อาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนศาสนาสุลต่านไซนัลอาบีดิน ที่รัฐตรังกานู เป็นชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ ห้ามถ่ายรูป แต่ได้รับความอนุเคราะห์ให้ถ่ายรูปโดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ เพราะ ผอ. พิพิธภัณฑ์เองก็มีรากเหง้ามาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

มัสยิดคริสตัลในตอนเย็นวันที่เราไปถึง
คณะทีวี Thai BPS กำลังถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับมาเลเซีย
ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญหลง ผอ. สกว., รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะถ่ายรูปหน้ามัสยิดคริสตัล เมืองกัวลาตรังกานู

บรรยากาศริมแม่น้ำตรังกานู บริเวณมัสยิดคริสตัล เมืองกัวลาตรังกานู

คณะร่วมเดินทางกำลังถ่ายรูปการประกอบอาหารในงานแต่งงานของชุมชน Pulau Duyung ซึ่งเป็นชุมชนชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในรัฐตรังกานู

คุณรพีพร สิทธิ กำลังถ่ายรูป Kota Lama

Kota Lama (วังเก่า) ที่พำนักของอดีตขุนนางสำคัญในอดีต ซึ่งรัฐตรังกานูปรับปรุง ซ่อมแซมเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู


รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม กำลังถ่ายรูปคณะร่วมเดินทาง บริเวณอำเภอยือลี รัฐกลันตัน

รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม หน้าวัดที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐกลันตัน
สภาพการสอนภาษาไทยในวัดแห่งหนึ่งของอำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

คุณพรทิพย์ ลิ้มประสิทธิวงศ์ กับคุณปัทมากร คติธรรมนิตย์ ที่ ตม. ตากใบ ขณะกำลังเข้าสูประเทศไทย

การเดินทางครั้งนี้ได้ประสบการณ์หลายอย่าง มีทั้งสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด เช่น พิพิธภัณฑ์ข้าว เคยผ่านป้ายโฆษณาชวนเที่ยวพิพิธภัณฑ์หลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่เคยเข้าไปสักครั้ง เพราะนึกว่ามีแต่เรื่องข้าวๆแบบบ้านเรา เมื่อเข้าไปแล้วรู้สึกทึ่ง เขาก้าวหน้ากว่าที่เราคิด มีการหลงทาง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเดินทาง มันก็สนุกอีกแบบหนึ่ง มีทั้งที่เสียดายนั้นคือเมื่อพักที่เมืองสุไหงปัตตานี ไม่อาจพบ Djamaluddin D. เพื่อนเก่าอดีตเจ้าหน้าที่ศุลกากรเกาะลังกาวี ได้แต่เพียงโทรศัพท์ติดต่อกัน อีกคนที่ไม่สามารถติดต่อได้ นั้นคือพี่สาวที่แสนดี Sharifah Mahani Al-Jufri เขาเปิด Nursery ที่เมืองสุไหงปัตตานี

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย ชุดโครงการวิจัย "มาเลเซีย : นัยที่สำคัญต่อไทย” รุ่น 2

ชุดโครงการวิจัย "มาเลเซีย : นัยที่สำคัญต่อไทย” รุ่น 2
______________________________________________________

ความสำคัญของปัญหา
ประเทศมาเลเซียมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง นอกจากนี้ ประเทศมาเลเซียยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมคล้ายกับภาคใต้ของไทย จากความสำคัญของมาเลเซียในด้านต่างๆ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจประเทศนี้อย่างลึกซึ้ง แต่ในสังคมไทยขณะนี้ยังขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาเลเซียปัจจุบัน ทั้งด้านด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ระบบกฎหมายที่อาจมีนัยสำคัญต่อประเทศไทย ตลอดจนนโยบายด้านต่างๆ ของมาเลเซียที่กระทบกับประเทศไทย เช่น แรงงาน ชนกลุ่มน้อย การปลูกพืชน้ำมัน เป็นต้น

สกว. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการสนับสนุนการวิจัย เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย เพื่อการกำหนดท่าทีของประเทศไทย ทั้งในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน คู่ค้า และคู่แข่ง จึงประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยแบ่งโจทย์การวิจัยออกเป็น 2 ระดับ คือ

1. โจทย์วิจัยเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย โลกทัศน์และวิธีคิด ของกลุ่มคนต่างๆ ในมาเลเซียปัจจุบัน
2. โจทย์วิจัยเพื่อสร้างความรู้ในหัวข้อเฉพาะ เช่น นโยบายรายสินค้า แรงงาน การลงทุน การค้า การนำเข้าและการส่งออก การจัดการศึกษา นโยบายด้านวัฒนธรรม กฎหมายต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย

พื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิวัฒนธรรมใกล้เคียงกับประเทศไทย

พื่อศึกษาแนวนโยบายของประเทศมาเลเซีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และนโยบายระหว่างประเทศ ที่มีนัยสำคัญต่อประเทศไทย อันจะนำไปสู่การกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการต่อการดำเนินโยบายต่อประเทศมาเลเซีย

download เอกสาร
รูปแบบการเขียนข้อเสนอโครงการ

การดำเนินการ
นักวิจัยผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ หรือเอกสารเชิงหลักการ ตามกรอบโจทย์ข้างต้น และเสนอมายัง สกว.
ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2552 (โดยกรุณาเขียนตามแบบเขียนข้อเสนอโครงการดังแนบ)
หรือ download จาก http://www.trf.or.th/ หัวข้อประกาศทุนใหม่ และนำส่งมาที่

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ชั้น 14 อาคร SM TOWER
สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
Email : rapeeporn@trf.or.th , tamagon@trf.or.th

ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามที่
คุณปัทมากร คติธรรมนิตย์ และคุณ รพีพร สิทธิ หมายเลขโทรศัพท์ 02-2788216 - 7


ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการชุดวิจัย รุ่นที่ 1 เพื่อเขียน Proposal สำหรับรุ่นที่ 2 สามารถสอบถามได้ที่

ศูนย์ข้อมูลมลายูศึกษา
ชั้น 3 คณะมนุษยศาสตร์ มอ. ปัตตานี

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ประกาศรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี เข้าร่วมโครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ สกว.

หน้าโรงพยาบาลอำเภอตุมปัต ตั้งอยู่ที่บ้านเกอลาโบรัน ใกล้ชุมชนบ้านเตอร์เบาะ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย
สภาพชุมชนชาวมลายูมุสลิมบ้านเกอลาโบรัน อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย

ชุมชนชาวมลายูมุสลิมบ้านเกอลาโบรัน อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย


ชุมชนชาวมลายูมุสลิม บ้านเกอลาโบรัน อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย



เด็กชายชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธ ชาวบ้านเตอร์เบาะ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย


วัดพิกุลทอง ศูนย์กลางทางจิตใจชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธ บ้านเตอร์เบาะ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย


สภาพบ้านเรือนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธที่บ้านเตอร์เบาะ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย



สภาพโรงแรมขนาดเล็กของคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในชุมชนบ้านเตอร์เบาะ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน มาเลเซีย

ความเป็นมาของโครงการ

ด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตระหนักว่าการสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจที่สะท้อนจากชุมชนท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดภาคใต้ จึงมีนโยบายในการสนับสนุนทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ระดับปริญญาตรีให้มีความสามารถในการทำวิจัยภาคสนาม และเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย ทั้งนี้เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความชำนาญในพื้นที่


หน่วยงานร่วมโครงการ
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ


วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นนักศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ให้มีความชำนาญ และทักษะในการเก็บข้อมูลภาคสนาม
2. เพื่อทดลองเก็บข้อมูลภาคสนามในชุมชนไทยฝั่งไทยและมาเลเซีย ในประเด็นที่นักศึกษาสนใจ
และนำเสนอผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการลงภาคสนาม


พื้นที่ปฎิบัติงาน
อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 7 - 21 เมษายน 2552
(วันเวลาเริ่มงาน อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและสภาพที่เป็นจริง)


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้องค์ความรู้ในมิติของมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ จากมุมมองของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งในระดับอาจารย์และนักศึกษา ให้มีความชำนาญในพื้นที่
3. การสร้างองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ เครือข่าย และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนไทย – มาเลเซีย


ที่ปรึกษาโครงการ
1. รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม
2. ผศ. ดร. ปรารถนา กาลเนาวกุล
3. ผศ. นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต
4. รศ. อาหวัง ล่านุ้ย
5. รศ. ดร. ครองชัย หัตถา
6. อ. บัญชา สำเร็จกิจ
7. อ. นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน


กำหนดการ

12 - 22 มกราคม 2552 รับสมัครนักศึกษาร่วมโครงการ

5 กุมภาพันธุ์ 2552 ประชุมผู้สนใจเพื่อชี้แจงโครงการ

2 - 3 มีนาคม 2552
2 มีนาคม 2552 อบรมแนวคิดในการเก็บข้อมูล
3 มีนาคม 2552 ทดลองเก็บข้อมูล
4 มีนาคม 252 สัมมนานำเสนอประเด็นที่ได้จากการเก็บข้อมูล

16 มีนาคม 2552 ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ

7 – 21 เมษายน 2552 ลงพื้นที่ และเก็บข้อมูล ณ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
(วันเวลาเริ่มงาน อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและเป็นจริง)

1 พฤษภาคม 2552 ประชุม นำเสนอผลการเก็บข้อมูล

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ :
ศูนย์ข้อมูลมลายูศึกษา ห้อง50330
คณมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
โทร. 073-313928 ถึง 50 ต่อ 3026 (แซม)

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

ทุนการศึกษา Darmasiswa Program

รัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย มีความประสงค์จะมอบทุนการศึกษา Darmasiswa Program (Non Degree) ประจำปี 2009/2010 ให้แก่นักศึกษาไทย เพื่อศึกษาภาษาและศิลปวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย
ณ มหาวิทยาลัย 45 สถาบันในประเทศอินโดนีเซีย หมดเขตภายในวันที่ 31 มีนาคม 2552

ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.kbri-bangkok.com/

และ
http://darmasiswa.diknas.go.id/english/


สำหรับนักศึกษา มอ. ปัตตานี ขอข้อมูลเพิ่มเติม ใบสมัคร และสมัครได้ที่
ศูนย์ข้อมูลมลายูศึกษา
ห้อง 50330 ชั้น 3
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
โทร : 073-313928 ถึง 50 ต่อ 3026 (ซีตี)

ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

จาก www.trf.or.th


ที่มาของทุน
สกว.เริ่มงาน "การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ประมาณปลายปี พ.ศ.2541 โดยจัดตั้งสำนักงานภาค (ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างกระบวนการ "ติดอาวุธทางปัญญา" (Empowerment) แก่ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งเน้นให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัย หรืออีกนัยหนึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างบรรยากาศ "การเรียนรู้ของทุกคน ทุกคนเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่" ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่สำคัญคือ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จะมุ่งเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่าง "ปัญญา" (นักวิจัย) และ "พัฒนา" (นักพัฒนา) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ ที่ดำเนินงานแบบแยกส่วน ต่างคน ต่างทำอยู่ในปัจจุบัน ดังคำขวัญ "สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น" เพื่อให้ "สังคมไทยได้ใช้ความรู้ และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจแทนการใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์" นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง และพึ่งตนเองได้ในชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาประเทศชาติที่ยั่งยืนในที่สุด

ลักษณะทุน
เน้นการวิจัยที่สามารถตอบปัญหา สร้างรูปแบบเสนอทางเลือกหรือชี้นำการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นได้เป็นลำดับแรก ระยะเวลาดำเนินการ ไม่เกิน 2 ปีใช้งบประมาณ ไม่เกิน 300,000 บาท
ลักษณะสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

1. เป็นเรื่องอะไรก็ได้ โจทย์อะไรก็ได้ ที่ชุมชนหรือคนในท้องถิ่นเห็นว่ามีความสำคัญ และอยากจะค้นหาคำตอบร่วมกัน
2. ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการค้นหาคำตอบร่วมกัน
3. มีการดำเนินงานรวบรวมข้อมูล และทดลองปฏิบัติการ นั่นคือ มีการดำเนินงานใน 2 ระยะ
ระยะแรก วิจัยให้ทราบสภาพที่เป็นอยู่
ระยะที่สอง เป็นการทดลองทำ (วิจัยปฏิบัติการ) เพื่อแก้ปัญหาและวิเคราะห์สรุป บทเรียน รวมทั้งสิ่งที่ได้เรียนรู้

อยากทำวิจัย ต้องทำอย่างไร
ผู้สนใจควรเริ่มจากการทำ "เอกสารเชิงหลักการ" ประมาณ 4-5 หน้า นำเสนอให้กับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ (Node) หรือนำเสนอต่อ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในกรณีพื้นที่ที่ไม่มี Node และเมื่อ Node หรือ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้รับเอกสารเชิงหลักการแล้ว จะพิจารณาขั้นต้น และแจ้งผลให้ผู้เสนอโครงการทราบ หรือเชิญผู้เสนอมาหารือรายละเอียดของโครงการ ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสาร

เอกสารเชิงหลักการ
1. ชื่อโครงการวิจัย : ตั้งตามประเด็นปัญหา / ข้อสงสัย / เรื่องราวที่ต้องการศึกษา / เรียนรู้ / ค้นหาคำตอบ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยต้องเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
2. ความเป็นมาของเรื่องที่ต้องการทำวิจัย : สภาพการณ์ปัญหา ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน / อย่างไร? ที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขปัญหาโดยใครหรือไม่ / อย่างไร? จนถึงปัจจุบันสภาพปัญหาเป็นอย่างไร? หากไม่หาทางแก้ไขแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไร?
3. คำถามวิจัย / วัตถุประสงค์ ในการทำวิจัย : ต้องการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบ หรือต้องการแก้ปัญหาในเรื่องใด / เพื่ออะไร?
4. แผนงาน และวิธีการศึกษา เพื่อให้สามารถตอบข้อสงสัย หรือแก้ปัญหาได้ : มีแนวทางทดลองทำเพื่อนำไปสู่การหาคำตอบ หรือ แก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวอย่างไร / มีใครมาร่วมทำงานบ้าง / มีการดำเนินกิจกรรมอะไร / เมื่อไร?
5. งบประมาณ และระยะเวลาดำเนินงาน
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : หากดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอน จนสามารถตอบคำถาม / ข้อสงสัย หรือแก้ปัญหาได้แล้วจะมีประโยชน์อย่างไร / ใครจะได้ประโยชน์บ้าง?
7. ข้อมูล / ประวัติย่อ หัวหน้าโครงการ และทีมวิจัย พร้อมที่อยู่ / โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
รูปแบบการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

การวิจัยเพื่อท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
1. การวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (PAR) เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบตามแนวความคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั้งในเชิงเนื้อหา และในเชิงกระบวนการ ภายใต้หลักการว่า "เป็นปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านเป็นทีมวิจัย และมีปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา" โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 2 ปี งานวิจัยแบบนี้ มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ

1.1 การวิจัยที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาสังคมในทุกประเด็น เป็นการศึกษาในเชิงกระบวนการเคลื่อนตัวของชุมชนท้องถิ่นในบริบทหนึ่งๆ ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ ชุมชนกับการจัดการปัญหาต่างๆ การรวมกลุ่มหรือการสร้างเครือข่ายปัญหาหรืออาชีพ การเรียนรู้และการศึกษาทางเลือก ซึ่งสามารถใช้เกณฑ์การสนับสนุนตามปกติของ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้ว

1.2 การวิจัยที่เน้นการทดลองเปรียบเทียบและทดสอบปัจจัยต่างๆ เป็นการศึกษาเพื่อที่จะทดลอง / ทดสอบพึ่งตนเองเป็นหลัก ได้แก่ การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการผลิต การแปรรูปและการตลาด โดยเน้นทางเลือกอาชีพเป็นหลัก โดยพัฒนาเกณฑ์การสนับสนุนที่เหมาะสมกับแต่ละประเด็นที่ต้องการทดลอง เงื่อนไขของแต่ละท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์

2. การวิจัยทางเลือกใหม่เพื่อท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจากแบบแรกเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่นและกลุ่มคนซึ่งมีหลากหลายระดับ หรือเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เป็นการเริ่มต้นทดลองทำงานวิจัยอย่างง่ายๆ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่มากนักประมาณ 3 - 6 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี มีหลายทางเลือก ดังนี้

2.1 การวิจัยเบื้องต้น เป็นกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยและการรวบรวมความรู้ รวมถึงการเตรียมชุมชน เตรียมทีมวิจัยชาวบ้าน เพื่อวางแผนและแก้ปัญหาในเบื้องต้นหรือพัฒนาไปสู่งานงานวิจ้ยเต็มรูปแบบต่อไป เช่น การถอดความรู้จากงานพัฒนาในอดีตที่ทำสำเร็จมาแล้ว / การรวบรวมข้อมูลความรู้เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนา เป็นต้น

2.2 การวิจัยที่เน้นการถอดความรู้และรวบรวมองค์ความรู้จากการทำงานพัฒนาของชุมชน เป็นเรื่องที่ชุมชนอยากรู้ อยากรวบรวมความรู้ของตนเอง และชุมชนร่วมกันทำงานวิจัย โดยไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาชุมชนมากนัก เช่น การวิจัยเพื่อรวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน / การศึกษารวบรวมความรู้ประเพณี 12 เดือน / การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น

2.3 การวิจัยเชิงความร่วมมือ เป็นการสนับสนุนการสร้างความรู้ร่วมกับหน่วยงานหรือภาคีอื่นๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานเพื่อชุมชนท้องถิ่น เป็นความร่วมมือทั้งในแง่ การมีเป้าหมายเพื่อท้องถิ่น ความร่วมมือของคนหรือทีมงาน การสนับสนุนปัจจัยและทุนดำเนินการร่วมกัน โดยมุ่งสร้างสิ่งต่อไปนี้ เช่น การสร้างกลไกความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น / การสร้างเครื่องมือ / ตัวชี้วัดการพัฒนาและการแก้ปัญหาท้องถิ่น / การประเมินผลการทำงานร่วม / การเชื่อมความรู้ระหว่างหน่วยงาน เป็นต้น

ทั้งนี้การวิจัยทางเลือกใหม่ทั้งสามลักษณะ เป็นการทำวิจัยในเบื้องต้นเพื่อพัฒนาความพร้อมของประเด็นศึกษา หรือกลุ่มคน โดยคาดหวังว่าจะนำไปสู่การทำวิจัยแบบเต็มรูปแบบต่อไป

ทุนวิจัยเชิงวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

จาก www.trf.or.th

ลักษณะทุน
เน้นการสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง รับผิดชอบโดยฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิจัยทุนวิจัยของฝ่ายวิชาการแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1. ทุนวิจัยพื้นฐานจากความคิดริเริ่มของนักวิจัย แบ่งเป็น

1.1 ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) เป็นทุนสร้างทีมวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ "เมธีวิจัยอาวุโส สกว. (TRF Senior Research Scholar)"* *ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน 7.5 ล้านบาท (2.5 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6 ล้านบาท (2 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีทุนประเภทนี้ไม่ได้เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาจากรายชื่อในกลุ่มต่างๆ เช่น รายนามศาสตราจารย์ในประเทศไทย รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รายนามผู้ได้รางวัลวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ รายนามนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอรายชื่อ และ รายนามคณาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ หลังจากนั้นจะเรียนเชิญนักวิจัยผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อ สกว. จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนต่อไป

1.2 ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.)เป็นทุนวิจัยระดับกลางสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยพอสมควร ผู้อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ทำในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เรื่องในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาและเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author และมีผลรวมของ impact factor อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา เช่น มีค่าไม่น้อยกว่า 5.0 สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ไม่น้อยกว่า 2.0 สำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพและ วิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะไม่นำเกณฑ์ของ impact factor มาพิจารณา ผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ "วุฒิเมธีวิจัย สกว. (TRF Advanced Research Scholar)"* *ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่มีวงเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน 3 ปี โดยเป็นค่าตอบแทนของหัวหน้าโครงการเดือนละ 15,000-25,000 บาท ตามคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ขอรับทุน

1.3 ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)เป็นทุนที่ สกว. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก เป็นผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author (ผู้วิจัยสำหรับการติดต่อ) ไม่น้อยกว่า 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องเป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศไทย และไม่ใช่ผลงานจากการทำวิทยานิพนธ์ และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป* *งบประมาณปีละ 400,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยแบ่งเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ 220,000 บาท และเป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 15,000 บาท

1.4 ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.)เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. ซึ่งผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน 45 ปี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่เป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author ไม่น้อยกว่า 1 เรื่องใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่ใช่ผลงานจากวิทยานิพนธ์ และเป็นผลงานที่ทำในประเทศไทย มีการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดีเด่น และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ผู้ได้รับทุนได้ชื่อว่าเป็น "เมธีวิจัย สกว. (TRF Research Scholar)"

1.5 ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)เป็นทุนที่ สกว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนอาจารย์รุ่นใหม่ให้ทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ผู้อยู่ในข่ายรับทุนคืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป* *ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี เป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 10,000 บาท

1.6 ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. ซึ่งผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่เกิน 5 ปี อายุไม่เกิน 45 ปี และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป และผู้สมัครต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์จะพิจารณาจากคุณภาพผลงานที่มีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

2. ทุนวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research Grant)เป็นโครงการที่เน้นงานวิจัยที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยมีทิศทางที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในระยะกลางหรือระยะยาวได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันฝ่ายวิชาการได้ให้การสนับสนุน 6 ชุดโครงการ ได้แก่

2.1 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "สมุนไพร ยารักษาโรค และสารเสริมสุขภาพ" มีเป้าหมายหลักเพื่อนำผลงานวิจัยโดยเฉพาะการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นยารักษาโรค สารอาหารบำรุงสุขภาพ เช่น สารต้านมะเร็ง สารต้านการติดเชื้อ สารต้านการอักเสบ สารต้านไวรัส และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

2.2 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "การพัฒนาเกษตรยั่งยืน" มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านพันธุ์และพันธุศาสตร์พืช รวมถึงเครื่องหมายโมเลกุลที่จะพัฒนาพันธุ์พืชที่ใช้สารเคมีน้อย มีผลผลิตและคุณภาพดี สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนของการผลิตพืช สร้างผลงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้สารอินทรีย์และ/หรือจุลินทรีย์ทดแทนสารเคมีในการผลิตพืช อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด สร้างพื้นฐานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ และพัฒนาความรู้ที่ช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตได้ผลตอบแทนดีกว่าหรือใกล้เคียงกับการใช้ระบบการผลิตที่ปฏิบัติอยู่ ณ ปัจจุบัน

2.3 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "การผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจ" มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนำองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุศาสตร์ ชีววิทยาสืบพันธุ์ จุลชีววิทยา พยาธิชีววิทยา ระบาดวิทยาของโรคที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์

2.4 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "การผลิตสัตว์บกเศรษฐกิจ" มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนำองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุศาสตร์ ชีววิทยาสืบพันธุ์ จุลชีววิทยา พยาธิชีววิทยา ระบาดวิทยาของโรคที่เกี่ยวกับสัตว์บก ตลอดจนเทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตสัตว์บกเศรษฐกิจ

2.5 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "ชีววิทยาเซลส์ต้นกำเนิดและเวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม" มีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับกลไกควบคุมการพัฒนาของเซลส์ต้นกำเนิดและการนำเซลส์ต้นกำเนิดมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อม การทำลายและการตายของอวัยวะต่างๆ

2.6 ชุดโครงการวิจัยแบบมุ่งเป้า "นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี" มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยพื้นฐานไปสู่การประยุกต์ใช้ และสร้างเครือข่ายความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนาโนอุตสาหกรรมกับในและต่างประเทศ โดยอาจเป็นโจทย์วิจัยที่กำลังเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมอยู่ในขณะนี้ เช่น การนำนาโนวัสดุไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าประเภท สิ่งทอ ไม้ พลาสติก วัสดุก่อสร้าง วัสดุทางการเกษตร ยานยนต์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเคลือบผิว อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือ อาจเป็นโจทย์วิจัยที่เตรียมพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมของอนาคตในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า เช่น นาโนเทคโนโลยีด้านพลังงาน นาโนอุปกรณ์ นาโนเซ็นเซอร์ พลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยีด้านความมั่นคง นาโนเกษตรกรรม Functional Foods รวมไปถึงหัวข้อที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็น Emerging Technologies หรือ Disruptive Technologies ในอนาคต เป็นต้น

3. โครงการการสร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำลังคนและองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และ/หรือแก้ปัญหาจากอุตสาหกรรม โดยจัดให้มีทุนวิจัย 3 ระดับซึ่งขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโจทย์วิจัย และเนื้อหาของโครงการ ตลอดจนคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับทุน

ระดับที่ 1 วงเงินงบประมาณไม่เกิน 1,000,000 บาท ในระยะเวลา 2 ปี

ระดับที่ 2 วงเงินงบประมาณไม่เกิน 1,500,000 บาท ในระยะเวลา 2 ปี

ระดับที่ 3 วงเงินงบประมาณไม่เกิน 3,000,000 บาท ในระยะเวลา 2 ปี

ลักษณะของโครงการและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับทุน

1. เป็นโจทย์วิจัยที่ได้มาจากภาคอุตสาหกรรมหรือพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือเป็นโครงการที่มีองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานพอเพียง ซึ่งพร้อมจะแปล (translate) เป็นผลผลิตหรือเพื่อการแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมได้

2. หัวหน้าโครงการต้องมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งคือ เป็นโครงการที่ภาคอุตสาหกรรมร่วมทุนด้วย (in cash หรือ in kind) และ/หรือต้องมีการปฏิบัติงานวิจัยส่วนหนึ่งที่สถานประกอบการอุตสาหกรรม และ/หรือมีนักวิจัยจากสถานประกอบการอุตสาหกรรมมาปฏิบัติการวิจัย ณ สถานศึกษา/วิจัย

3. เป็นโครงการวิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และ/หรือการสร้างกำลังคนระดับปริญญาตรี และ/หรือโท และ/หรือเอก โดย สกว. จะให้ความสำคัญกับโครงการที่มีลักษณะเป็นกลุ่มวิจัยที่มีโจทย์วิจัยเชื่อมโยงกัน

4. ผลลัพธ์ (output) ต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมและสามารถตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และ/หรือจดสิทธิบัตร และ/หรือได้สิ่งประดิษฐ์ที่มีนวัตกรรมสูงซึ่งเป็นที่ยอมรับ

5.หัวหน้าโครงการควรมีประสบการณ์วิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติอย่างต่อเนื่อง และ/หรือมีสิทธิบัตร และ/หรือมีสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงในเรื่องเดียวกัน หรือที่ใกล้เคียงกับเนื้อหาของโครงการวิจัยที่นำเสนอ

6.นักวิจัยมีต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยที่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือของภาคเอกชน

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ http://academic.trf.or.thหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ สกว. โทรศัพท์ : 0-2278-8251-9 Email : trfbasic@trf.or.th

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

ประเทศสวีเดนมีให้เรียนฟรี ปริญญาตรีและปริญญาโท

จาก http://www.riandee.com/

ที่ตั้งประเทศสวีเดน
ตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวียทางตอนเหนือของทวีปยุโรป ทิศเหนือติดกับประเทศนอร์เวย์และฟินแลนด์ ทิศตะวันออกติดกับอ่าวบอสเนีย ทิศใต้ติดกับทะเลบอลติก ทิศตะวันตกติดกับประเทศนอร์เวย์ พื้นที่ 486,601 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 8.9 ล้านคน กลุ่มชนชาติ ชาวซอมิ (แลปป์) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มน้อยประมาณ 15,000 คน ภาษาสวีเดนเป็นภาษาราชการนอกจากนี้ ใช้อังกฤษเป็นส่วนใหญ่และภาษาฟินแลนด์บ้างเป็นส่วนน้อย ด้านศาสนา ร้อยละ 80 นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Lutheran State Church เมืองหลวง กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm)สกุลเงิน Swedish Krona (SEK) อัตราแลกเปลี่ยน 1 โครน ประมาณ 5.00 บาท 9 โครน ประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

คุณสมบัติผู้สมัคร
1.จบปริญญาตรีเกรดเฉลี่ย 2.0 ขึ้นไป
2.ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
3.มีความตั้งใจจะไปศึกษาต่อสวีเดนจริง

เอกสารที่ใช้การสมัคร
1.วุฒิ ป.ตรี เป็นภาษาอังกฤษ 1 ชุด และ ภาษาไทย 1 ชุด 2.Passport ที่มีอายุเหลือมากกว่า 2 ปี
3.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 12 ใบ ( พื้นหลังขาว )
4.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน อย่างละ 3 ชุด
5.ผลสอบ TOEFL 550 คะแนน หรือ IELTS 6.0 คะแนน ( ใช้ยื่นภายในเดือนพฤษภาคม )

วันที่รับสมัคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2008 - 20 กุมภาพันธุ์ 2009

วันสอบสัมภาษณ์
20 มีนาคม 2009

สมัครได้ที่
111 ถ.จรัญสนิทวงศ์ ซอย 12 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600

ในการคัดเลือก
จะคัดเลือกจากการสัมภาษและดูความตั้งใจจริงที่จะไปศึกษาต่อในประเทศสวีเดน โดยนักเรียนที่ตั้งใจจะไปเรียนจริงและทางมหาวิทยาลัยเห็นว่านักเรียนจะนำความรู้ที่ไปเรียนกลับมาใช้ได้จริงก็จะได้รับคัดเลือกแทบทุกคน